ตรวจสุขภาพการนอนหลับ (Sleep Test)

เรารับตรวจการนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Test)

ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ

ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=awa4z2fFn7A

สามารถติดนัดหมายกับเราเพื่อทำ Sleep Test กับ โรงพยาบาลรัฐ ได้ภายใน 3-4 วัน 

 

สามารถติอต่อและสอบถามได้ทาง Tel/Line : 0891293675 คลิก

 

การตรวจสุขภาพการนอนหลับ (Sleep test ) คืออะไร
            การตรวจสุขภาพการนอนหลับเป็น การตรวจสำคัญที่ใช้เพื่อวิเคราะห์การทำงานของระบบต่าง ๆของร่างกายระหว่างการนอนหลับ  เช่น ระบบการหายใจ  ระดับออกซิเจนในเลือด  การทำงานของคลื่นไฟฟ้าสมอง คลื่นไฟฟ้าหัวใจ และกล้ามเนื้อ รวมถึง ศึกษาพฤติกรรมบางอย่างที่เกิดขึ้นขณะหลับด้วย  ปัจจุบันถือว่าเป็นการตรวจมาตรฐานสากล (gold standard) สำหรับการวินิจฉัย โรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่โรคหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น (obstructive sleep apnea; OSA) รวมถึงการกระตุกของกล้ามเนื้อต่างๆ และพฤติกรรมที่ผิดปกติระหว่างการนอนหลับ เป็นต้น 

เมื่อไหร่จึงควรรับการตรวจ Sleep test
            ข้อบ่งชี้ที่สำคัญของการตรวจ sleep test ได้แก่ ผู้ที่มีปัญหานอนกรนดังผิดปรกติ  หรือมีอาการง่วงนอนกลางวันมากผิดปรกติ ทั้ง ๆ ที่ได้นอนอย่างเพียงพอแล้วผู้ที่มีอาการหายใจลำบาก และสงสัยว่าจะมีการหยุดหายใจขณะหลับ  หรือ ผู้ที่มีพฤติกรรมการนอน ผิดปรกติอื่น ๆ  เช่น นอนแขนขากระตุก  นอนกัดฟัน หรือ นอนละเมอ นอนฝันร้าย สะดุ้งตื่นเป็นประจำ เป็นต้น  โดยผู้รับการตรวจควรพบแพทย์เฉพาะทางด้านโรคการนอนหลับโดยตรง หรือแพทย์สาขาที่เกี่ยวข้องเช่น หู คอ จมูก, อายุรแพทย์, หรือกุมารแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านนี้ เพื่อสอบถามประวัติ และตรวจร่างกายอย่างละเอียดก่อนและหลังการตรวจ เพื่อพิจารณาทางเลือกในการตรวจและรักษาแบบต่าง ๆ

ประโยชน์ของการตรวจ Sleep test
            เป็นการตรวจที่เป็นมาตรฐาน (standard investigation) ที่ใช้ในการวินิจฉัยและประเมินระดับความรุนแรงของโรค  ภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea; OSA)  ซึ่งจะมีผลต่อการวางแผนและการตัดสินใจทางเลือกในการรักษา   เช่น อาจใช้ในการตั้งค่าความดันลม (Pressure titration) กรณีที่รักษาโรคด้วยเครื่องเป่าความดันลมบวกเพื่อขยายช่องทางเดินหายใจ (Continuous positive airway pressure; CPAP), การปรับระดับของเครื่องมือในช่องปาก  (oral appliances),  นอกจากนี้ยังใช้พิจารณาเลือกวิธีการผ่าตัดทางเดินหายใจและใช้ติดตามผลการรักษา ตลอดจนช่วยในการวินิจฉัยโรคความผิดปรกติอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการนอนได้อีกด้วย

 ระดับที่ การตรวจสุขภาพการนอนหลับแบบจำกัดข้อมูล (Limited channel portable sleep test) การตรวจนี้ จะมีเพียงการตรวจ ลมหายใจ การเคลื่อนไหวของหน้าอกและท้อง การวัดระดับออกซิเจนในเลือด การวัดระดับเสียงกรน บางครั้งรวมคลื่นหัวใจร่วมด้วย หรือการตรวจการนอนหลับจากระบบหลอดเลือดและประสาทอัตโนมัติ เป็นต้น การตรวจแบบนี้อาจมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าระดับ 1 และ 2 

แหล่งที่มา : http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=668

 

 

 


 

ตรวจสอบสิทธิการรักษาอาการนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับ 

       

การตรวจการนอนหลับนอกสถานที่

การตรวจการนอนหลับนอกสถานที่

รศ.นพ. วิชญ์ บรรณหิรัญ
ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา

Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล


การตรวจการนอนหลับนอกสถานที่ (Out-of-center sleep testing; OCST) ในที่นี้บางครั้งอาจเรียกว่า การตรวจการนอนหลับแบบเคลื่อนย้ายได้ (Portable monitoring of sleep; PMs) หรือ การตรวจการนอนหลับที่บ้าน (Home sleep testing; HST) ซึ่งมีความหมายเทียบได้กับการตรวจการนอนหลับแบบไม่มีเจ้าหน้าที่เฝ้า (unattended sleep study) หรือ การตรวจการนอนหลับระดับที่ 2 – 4 ตามที่กำหนดโดยสมาคมแพทย์โรคจากการหลับของสหรัฐอเมริกา ซึ่งปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สหรัฐอเมริกาได้อนุมัติให้มีการเบิกจ่ายค่าตรวจรักษาด้วยวิธีเหล่านี้ได้ ทำให้ปัจจุบันมีแนวโน้มการตรวจการนอนหลับนอกสถานที่ด้วยวิธีเหล่านี้ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากความประหยัดในต้นทุนงบประมาณและกำลังคน อีกทั้งยังทำให้ผู้ป่วยที่มีปัญหานอนกรนและสงสัยว่ามีหยุดหายใจขณะหลับ ได้รับความสะดวกสบายและเข้าถึงการให้บริการมากขึ้น

การตรวจการนอนหลับแบบครบชุดนอกสถานที่ (Home polysomnography) บางครั้งอาจเรียกว่าเป็นการตรวจการนอนหลับระดับ 2  เป็นการตรวจวัดข้อมูลการนอนหลับมากกว่า 7 สัญญาณขึ้นไป เช่นเดียวกับการตรวจการนอนหลับที่ทำในโรงพยาบาลหรือศูนย์การนอนหลับ โดยเจ้าหน้าที่จะไปติดอุปกรณ์เครื่องมือวัดสัญญาณให้ถึงที่พักของผู้รับการตรวจในช่วงหัวค่ำ และมาถอดอุปกรณ์เพื่อนำไปถ่ายข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์สำหรับประมวลผลในตอนเช้าวันรุ่งขึ้น แต่ ไม่มีเจ้าหน้าที่เฝ้าขณะที่นอน  การตรวจชนิดนี้มักมีข้อบ่งชี้ในผู้ป่วยที่ไม่พร้อมในการเคลื่อนย้าย หรือ ผู้ที่มีอาการรุนแรงมากแต่ไม่สามารถรับการตรวจในโรงพยาบาลในเวลาที่เหมาะสม ซึ่งอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคหยุดหายใจขณะหลับระหว่างที่รอรับการตรวจ ซึ่งมีบริการในโรงพยาบาลไม่เพียงพอและคิวรอตรวจยาวนาน การตรวจชนิดนี้มีข้อดีเหนือกว่าการตรวจในโรงพยาบาล คือ ผู้ป่วยจะได้นอนในห้องนอนของตนเองจึงมีความรู้สึกผ่อนคลายและมีความเป็นส่วนตัวมากกว่า อย่างไรก็ตามมีโอกาสที่สัญญาณสูญเสียระหว่างการตรวจได้เนื่องจากไม่มีเจ้าหน้าที่เผ้า ซึ่งในทางปฏิบัติพบปัญหาเหล่านี้น้อย เนื่องจากเทคนิกการตรวจในปัจจุบันได้รับการพัฒนาเพิ่มขึ้นกว่าในอดีต และผลการตรวจควรได้รับการอ่านและแปลผลโดยแพทย์เฉพาะทาง

การตรวจการนอนหลับนอกสถานที่ระดับ 3 (Portable monitoring) บางครั้งอาจเรียกว่า respiratory polygraphy หรือ cardiopulmonary monitoring ได้โดยเป็นการตรวจวัดข้อมูลการนอนหลับ 4-7 สัญญาณ โดยเน้นพิเศษเฉพาะระบบหัวใจและการหายใจ  กล่าวคือ จะมีการตรวจวัดสัญญาณต่างๆ คล้ายกับการตรวจการนอนหลับในโรงพยาบาล แต่ไม่มีการตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าสมองและลูกตา จึงไม่ได้บอกว่าผู้รับการตรวจอยู่ในระยะการนอนหลับ หรือตื่นมากน้อยเพียงใด ข้อดีของวิธีนี้คล้ายกับการตรวจนอกสถานที่แบบอื่น ๆ คือสะดวกรวดเร็ว, ประหยัด, และมีอุปกรณ์ตรวจน้อยกว่าจึงทำให้นอนหลับได้อย่างเป็นธรรมชาติในแบบที่คุ้นเคยมากกว่า ข้อบ่งชี้ของการตรวจแบบนี้คือใช้เพื่อการวินิจฉัยในผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นระดับความรุนแรงตั้งแต่ปานกลางขึ้นไป แต่ไม่สามารถได้รับการตรวจแบบมาตรฐานในโรงพยาบาลในเวลาที่เหมาะสม  นอกจากนี้ยังอาจใช้ในการตรวจติดตามผลการรักษาหลังการผ่าตัด, การลดน้ำหนัก, หรือเครื่องมือในช่องปากได้ อย่างไรก็ตามการตรวจวิธีนี้อาจข้อจำกัดและมีโอกาสที่ผลตรวจจะคลาดเคลื่อนได้บ้าง ดังนั้นผู้ที่สงสัยว่าจะเป็นโรคหยุดหายใจขณะหลับแต่ผลการตรวจด้วยวิธีนี้ไม่พบความผิดปกติ  หรือผู้ที่มีโรคร่วมอื่นๆ  เช่น  ภาวะหัวใจวาย, ภาวะอ้วนทุพลภาพที่มีการหายใจต่ำ, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, หรือ  โรคระบบประสาทกล้ามเนื้อ และผู้ที่สงสัยว่ามีโรคจากการนอนหลับ เช่น โรคขากระตุกขณะหลับ, หรือ โรคลมหลับ อาจพิจารณาเข้ารับการตรวจการนอนหลับชนิดที่ 1 แทน นอกจากนี้ผลการตรวจควรได้รับการอ่านและแปลผลโดยแพทย์เฉพาะทางเช่นกัน

การตรวจการนอนหลับนอกสถานที่ระดับ 4 เป็นการตรวจวัดสัญญาณการนอนหลับ 1-3 สัญญาณ โดยส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วยการวัดความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด ร่วมกับการวัดลมหายใจ อย่างไรก็ตามข้อมูลที่ไม่ได้รับจะค่อนข้างน้อยกว่าวิธีอื่น จึงมีข้อจำกัดมากกว่าและได้รับความนิยมน้อยลงในปัจจุบัน

การตรวจการนอนหลับนอกสถานที่แบบอื่น ๆ เนื่องจากปัจจุบันมีการพัฒนาวิธีการตรวจเพื่อวินิจฉัยภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นเพิ่มขึ้นอย่างมาก ทำให้เริ่มมีการตรวจชนิดใหม่ที่ไม่สามารถจัดให้เข้าหมวดหมู่ดังกล่าวข้างต้น จึงแยกออกมาเป็นการตรวจนอกสถานที่แบบอื่น ๆ  เช่น Watch-PAT ซึ่งเป็นการตรวจวัดข้อมูลการนอนหลับจากสัญญาณชีพจรหลอดเลือดแดงที่ปลายนิ้วมือ และข้อมือ ลักษณะคล้ายนาฬิกาข้อมือขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถบอกระยะการนอนหลับได้ และวัดดัชนีการหยุดหายใจและหายใจแผ่ว รวมถึงระดับออกซิเจนในเลือดได้ค่อนข้างแม่นยำพอสมควร ทำให้ผู้ป่วยได้รับความสะดวกเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังมี   การทดสอบแบบอื่น ๆ อีกมากมาย  อย่างไรก็ตามทุกวิธีการตรวจย่อมมีข้อดีและข้อจำกัด ดังนั้นเพื่อให้เกิดผลที่ดีที่สุด ผู้รับการตรวจควรพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านก่อนเพื่อตรวจประเมินและพิจารณาว่า ผู้ป่วยแต่ละรายจะเหมาะสมกับการตรวจการนอนหลับแบบใดต่อไป

 7/10/2557 9:04:45
https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=1135
 
Visitors: 58,137